ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
การใช้งาน
dot
dot
สาระน่ารู้
dot
dot
รวมลิงค์วิดีโอคลิป
dot
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot




Dust and Mist Collector

Mist collector (เครื่องเก็บหมอกละอองน้ำมัน)   ได้มีการใช้งานในวงการตัดขึ้นรูปโลหะมานานกว่า 50 ปีแล้ว เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีอากาศที่สะอาด  ลดอันตรายจากการหายใจหรือสัมผัสกับน้ำมันขึ้นรูปโลหะ  ทำให้อากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  ลดงานซ่อมบำรุง   บทความนี้จะอธิบายปัญหาจากละอองน้ำมัน และชนิดของตัวกรองละอองน้ำมันที่โรงงานสามารถใช้ได้ 

หมอกละอองน้ำมัน และควันคืออะไร ?
 
อาจมีการให้นิยามของหมอก และควันต่างกันในหลาย ๆ ที่  แต่ในที่นี้หมอกละอองน้ำมัน (oil mist) หมายถึงอนุภาคของน้ำมันที่มีขนาด 20 ไมครอน หรือเล็กกว่า โดยเน้นไปที่น้ำมันขึ้นรูปที่เป็น น้ำมัน น้ำมันผสมน้ำ และสารทำความสะอาด  ซึ่งใช้ในงาน ตัด  ขึ้นรูป  เจียระไน และล้างชิ้นงาน  เช่น งานกัด  และการขึ้นรูปที่มีการหมุนชิ้นงาน  หากใช้น้ำมันคูลแลนท์ที่ใช้น้ำมันผสมน้ำ จะสร้างละอองขนาด 2-20 ไมครอน   แต่ในงานเดียวกันนี้ถ้าใช้น้ำมันเป็นตัวหล่อลื่นและระบายความร้อนก็จะสร้างละอองน้ำมันขนาด 0.5 -10 ไมครอน
 
ควันเกิดจากการให้ความร้อน หรืออัดของเหลวภายใต้แรงดันสูง ทำให้เกิดไอและไอควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้ง  งานที่ทำให้เกิดควันได้แก่  Cold heading,  การตัดขึ้นรูปโลหะที่ใช้น้ำมันเป็นสารหล่อลื่น,   ในกังหันผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่, และงานอบชุบผิวโลหะ เป็นต้น 
 
ปัญหาของหมอกละอองน้ำมัน 
 
  • ผลต่อผู้ปฏิบัติงาน การศึกษามากมายได้พบว่าการสัมผัสหมอกหรือควันจากน้ำมันขึ้นรูปโลหะเป็นประจำ ทั้งทางผิวหนัง  ทางปาก การหายใจ  อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้ การศึกษาอื่น ๆ พบว่าหมอก และ ควัน สร้างการระคายเคือง ต่อดวงตา และคอ  
  • เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มในโรงงาน
  • ลดความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน 
  • ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  หากมีการปล่อยละอองน้ำมันออกสู่บรรยากาศภายนอกโรงงาน 
  • ละอองน้ำมันอาจเกาะที่เซ็นเซอร์ของระบบดับเพลิง ทำให้เซ็นเซอร์ไม่ทำงานในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ 
  • ละอองน้ำมันมีผลต่อระบบควบคุมของเครื่องจักร และทำให้เครื่องจักรเสียหายได้ 

วิธีการติดตั้งเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมัน

  • ติดตั้งบนเครื่องจักร
  • ต่อท่อจากเครื่องจักรไปที่เครื่องกรองหมอกแบบตัวต่อตัว 
  • เครื่องกรองหมอกหนึ่งตัวต่อเครื่องจักรกลุ่มหนึ่ง 3-4 ตัว
  • ระบบรวมที่ใช้เครื่องกรองหมอก 1 ตัวต่อเครื่องจักรหลายตัว อาจมากถึง 20 ตัว ( Central system) 
  • เครื่องกรองหมอกเพื่อกรองอากาศในโรงงาน ไม่ได้ต่อเข้าโดยตรงกับเครื่องจักร


1. แบบติดตั้งบนเครื่องจักร

เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมาก และได้ผลดี เครื่องกรองหมอกจะมีช่องเปิดด้านล่าง และต่อเข้ากับช่องเปิดของเครื่องจักรโดยตรง หรืออาจมีท่อยืดสั้น ๆ สวมอยู่ 

                   Mist collector     

                              รูปที่ 1 ติดตั้งบนเครื่องจักร 

 ข้อดี 

  • เคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้ง่าย หากมีการเปลี่ยนผังโรงงานทีหลัง 
  • สามารถเปิดหรือปิดเครื่องพร้อมกับเครื่องจักรหลัก ช่วยประหยัดพลังงาน 
  • น้ำมันที่ดักจับได้ จะไหลกลับเข้าเครื่องจักร 
  • ไม่ต้องการพื้นที่ติดตั้งบนพื้น 
  • หากเครื่องกรองหมอกเสียตัวเดียว  ก็จะมีเครื่องจักรที่ไม่มีเครื่องกรองหมอกเพียงตัวเดียว 

ข้อเสีย 

  • ต้องมีชุดควบคุมมอเตอร์ทุกเครื่องจักร 
  • เครื่องกรองหมอกมีทางเข้าด้านล่าง และช่องระบายน้ำมันก็อยู่ด้านล่างด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรทำงานต่อเนื่องนานเกินไป 
  • หากเพดานห้องต่ำ อาจทำให้เกะกะเครนเหนือศีรษะหรือท่อสายไฟได้ 
  • หากมีเครื่องจักรมาก ต้องติดตั้งเครื่องกรองหมอกมาก 
  • ใช้พลังงานมากกว่าระบบรวม 


2. ต่อท่อไปที่เครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันแบบตัวต่อตัว   

              Oil mist collector installation      AOF - Oil mist collector

                                                             รูปที่ 2 ต่อท่อไปที่เครื่่องกรองหมอกละอองน้ำมัน

ส่วนใหญ่จะติดตั้งเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันที่พื้น  แขวนกับเพดาน หรือยึดติดกับคาน จะใช้เมื่อ 

  • เครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันมีขนาดใหญ่และหนักเกินไป 
  • เมื่อต้องการให้ด้านบนเครื่อง Machining center ว่าง
  • เมื่อต้องการความแม่นยำของชิ้นงานสูง  แรงสั่นสะเทือนของเครื่องดักหมอกอาจมีผลต่อคุณภาพของชิ้นงานได้
  • ระบบนี้ไม่ควรจะตั้งเครื่องกรองหมอกห่างจากเครื่องจักรเกิน 10 ฟุต

ข้อดี 

  • ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร
  • เครื่องกรองหมอกจะทำงานเฉพาะเมื่อเครื่อง Machining center ทำงานเท่านั้น 
  • การบำรุงรักษาทำได้ง่าย 
  • ในขณะทำการบำรุงรักษาเครื่องกรองหมอก จะมีเครื่องจักรที่ไม่มีเครื่องกรองหมอกเพียงครั้งละตัว 

ข้อเสีย 

  • แต่ละเครื่องต้องมีชุดสตาร์ทมอเตอร์
  • ต้องต่อท่อให้ดี เพื่อป้องกันการรั่วไหล 
  • หากมีเครื่องจักรหลายเครื่องต้องมีเครื่องกรองหมอกหลายเครื่อง
  • ใช้พลังงานมาก 

3.  ระบบท่อร่วม  

เป็นการใช้เครื่องกรองหมอกตัวเดียวร่วมกับ Machining center 2-4 ตัว  (รูปที่  3)  ชิ้นส่วนที่ผลิต อาจเป็นชิ้นส่วนเดียวที่ส่งต่อจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง  หรือจะผลิตชิ้นส่วนที่เหมือนกันพร้อมกันทุกเครื่องก็ได้  โดยทั่วไปเครื่องจักรเหล่านี้จะใช้น้ำมันหล่อเย็นชนิดเดียวกัน  ในกรณีนี้การติดตั้งเครื่องกรองหมอกหนึ่งตัวต่อเครื่องจักร 2-4 ตัว จะเหมาะกว่าการติดตั้งแบบตัวต่อตัว

           Dust and Mist collector

                            รูปที่ 3. แบบท่อร่วมต่อกรองหมอกกับ Machining center 2-4 ตัว 

ข้อดี 

  • เครื่องกรองหมอกจะทำงานเฉพาะเมื่อเครื่องจักรทำงานเท่านั้น 
  • ประหยัดพลังงานมากกว่าการติดตั้งแบบตัวต่อตัว 
  • การบำรุงรักษาเครื่องกรองหมอกน้อยลง เพราะมีจำนวนน้อยกว่า ทั้งยังประหยัดไส้กรอง และการกำจัดไส้กรองมากกว่าด้วย 
  • เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการผลิต หรือไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกรองหมอกแล้ว ก็สามารถย้ายไปที่อื่นได้ง่าย 

ข้อเสีย 

  • ต้องระวังเรื่องการต่อท่อ และการรั่วของท่อ 
  • ต้องมีการปรับอัตราการไหลของอากาศเพื่อให้มีอัตราการไหลที่เพียงพอของทุก ๆ เครื่อง ซึ่งต้องใช้ความชำนาญพอสมควร

 

4. ระบบรวมส่วนกลาง  

ระบบนี้จะใช้เครื่องกรองหมอกหนึ่งตัวต่อ เครื่อง Machining center มากถึง 20 ตัว  ระบบนี้เคยได้รับความนิยมในอดีตแต่ในปัจจุบันไม่ค่อยมีคนใช้มากนัก  เนื่องจากมีข้อเสียหลายอย่าง 

ข้อดี 

  • ต้นทุนต่ำที่สุด เพราะใช้เครื่องกรองหมอก ตัวเดียวต่อเครื่องจักรหลายตัว 
  • การติดตั้งเครื่องกรองหมอก ทำได้รวดเร็วกว่า
  • การบำรุงรักษาเครื่องกรองหมอกทำได้ง่าย เพราะมีเพียงเครื่องเดียว 

ข้อเสีย 

  • เครื่องกรองหมอกต้องทำงาน  ไม่ว่าจะมีการเดินเครื่องจักรกี่เครื่อง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
  • ต้นทุนการติดตั้งสูงขึ้นเนื่องจากต้องมีระบบท่อมากขึ้น และเป็นท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย 
  • ต้องระมัดระวังเรื่องการรั่วไหลของท่อ
  • ถ้าในโรงงานใช้น้ำมันหล่อเย็นมากกว่าหนึ่งชนิด จะทำให้น้ำมันที่เก็บได้ ไม่สามารถน้ำไปใช้ซ้ำได้ 
  • เมื่อเครื่องกรองละอองน้ำมันเสียหาย หรือต้องหยุดซ่อมบำรุง จะทำให้เครื่องจักรกลุ่มใหญ่ต้องทำงานโดยที่ไม่มีเครื่องกรองละอองน้ำมัน 
  • ต้องออกแบบให้มีความสมดุลย์ของอัตราการไหลของอากาศ จากเครื่องจักรหลาย ๆ เครื่อง  

 

5. การกรองหมอกละอองน้ำมันในโรงงาน 

 เป็นการกรองละอองน้ำมันในโรงงานโดยที่เครื่องกรองไม่ได้ต่อไปที่เครื่องจักรที่สร้างหมอกละอองน้ำมันโดยตรง   การกรองละอองน้ำมันแบบนี้ไม่ค่อยพบมากนัก  แต่จะพบได้ในกรณีที่ไม่สามารถดูดหมอกละอองน้ำมันจากเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ   หรือในบางครั้งก็ใช้เป็นระบบเสริมร่วมกับแบบที่ต่อเข้ากับเครื่องจักรโดยตรง เพื่อให้สภาพอากาศในโรงงานดีขึ้นเป็นพิเศษ 

ข้อดี 

  • ใช้เมื่อมีเครื่องจักรหลายเครื่องที่ไม่มีฝาครอบ หรือไม่สามารถดูดไอน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้เป็นระบบที่สองร่วมกับการดูดที่เครื่องจักรโดยตรง เพื่อให้อากาศสะอาดมากขึ้น 

ข้อเสีย 

  • การกรองหมอกละอองน้ำมันจากอากาศในโรงงาน หรือในห้อง มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ 70%   แต่ค่าเฉลี่ยมีประสิทธิภาพแค่ 50%  ซึ่งอาจไม่เพียงพอหากใช้แค่ระบบนี้เพียงอย่างเดียว 
  • การกรองหมอกละอองน้ำมันในโรงงาน จะต้องมีการจัดการรูปแบบการไหลของอากาศในโรงงานทั้งหมด  ตั้งแต่เครื่องดักหมอกละอองน้ำมัน  ระบบการไหลของลมเย็นของเครื่องปรับอากาศ  พัดลมส่วนบุคคล  ถ้ารูปแบบการไหลของอากาศไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หรือมีการเปิดประตูหน้าต่าง  จะทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องดักหมอกละอองน้ำมันลดต่ำลงกว่า 50% 
  • หมอกละอองน้ำมันจะลอยไปสู่อากาศก่อนที่จะถูกกำจัด  ทำให้พนักงานมีโอกาสสูดหายใจเข้าไปได้ 

 

การเลือกขนาดของเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมัน 

กรณีที่ 1 ต่อเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันเข้ากับเครื่องจักร  เครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันต้องมีขนาดไม่เล็กจนเกินไป เมื่อเครื่องจักรมีประตูกันหมอกละอองน้ำมัน  เราจะคำนวณอัตราการไหลโดยเอาพื้นที่ของช่องเปิด คูณด้วยความเร็วลมที่ต้องการ (5-9 เมตรต่อนาที)  

พื้นที่ช่องเปิด = B * (l1+l2) 

ตัวอย่างเช่น ถ้าพื้นที่ช่องเปิด เท่ากับ 1 ตารางเมตร อัตราการไหลของเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันควรจะเป็น 9 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

 

กรณีที่ 2 การกรองหมอกละอองน้ำมันจากอากาศในโรงงาน 

2.1 ให้คำนวณปริมาตรอากาศในโรงงาน โดยใช้สูตร  ปริมาตร = กว้าง*ยาว*สูง 

2.2 ให้สังเกตว่ามีหมอกละอองน้ำมันมากหรือเปล่า ถ้ามีน้อยให้ใช้เวลา 20 นาทีต่อการกรองหนึ่งรอบ  หากปานกลาง ให้ใช้เวลา 15 นาทีต่อการกรองหนึ่งรอบ  แต่ถ้ามีหมอกละอองน้ำมันมาก ให้ใช้เวลา 10 นาที ในการคำนวณ 

2.3  หาอัตราการไหลของอากาศ   เป็นลูกบาศก์เมตรต่อนาที  (m3/min) 

= ปริมาตรของห้อง (m3)/ จำนวนนาทีต่อการกรองหนึ่งรอบ 

เช่น  ห้องเครื่อง Machining center มีขนาด  40*20*6 เมตร  และมีหมอกปานกลาง ดังนั้นเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันควรมีขนาด  = (40*20*6)/15 = 320  ลูกบาศก์เมตรต่อนาที  

2.4  หาจำนวนเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมัน โดยเอาอัตราการไหลทั้งหมด หารด้วยอัตราการไหลของเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันแต่ละตัว  สมมุติว่าเครื่องกรองมีอัตราการไหล 32 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที  ก็จะได้จำนวนเครื่องกรอง = 320/32  หรือ 10 ตัว 

2.5 จัดวางตำแหน่งของเครื่องกรองแต่ละเครื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ให้เกิดการไหลของอากาศเป็นรูปไข่  โดยจัดวางให้ท่อออกของเครื่องหนึ่งชี้ไปทางท่อดูดของเครื่องถัดไป 

Share

 

 




สาระน่ารู้

ระบบไฮดรอลิค
ส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันต้องสะอาดแค่ไหน ? article
ผลต่อเครื่องจักร article
การกรองแบบ In-line และ By-pass article
ทำไมต้องกรองละเอียด
น้ำมันสะอาดช่วยประหยัดเงิน
NAS 1638 และ ISO 4406
ตารางเปรียบเทียบ ISO และ NAS
การบำรุงรักษาน้ำมันไฮดรอลิค
6 ข้อผิดพลาดในการใช้งานระบบไฮดรอลิค
การควบคุมการปนเปื้อนใน Gearbox
การกรองน้ำมันเกียร์
เกียร์บ็อกร้อนเกินไป
การคำนวณเวลาในการกรอง
Filtroil กับอายุของน้ำมัน
การจัดการน้ำมันหล่อลื่น
การแยกน้ำออกจากน้ำมัน
Water Glycol
งานดึงลวด
การอบชุบโลหะด้วยความร้อน
น้ำมันชุบแข็ง
Coolant Oil Skimmer
น้ำมันถ่ายเทความร้อน
การบำรุงรักษาน้ำมันหล่อเย็น
การแยกตะกอนออกจากน้ำมันหล่อเย็น
เรื่องน่ารู้น้ำมันหล่อเย็น
งานฉีดพลาสติก
อันตรายจากหมอกละอองน้ำมัน (Oil mist)
ระบบหล่อลื่นเทอร์ไบน์
โคลนหรือตะกอนในน้ำมันคูลแลนท์
หลักการทำงานของเครื่องแยกละอองน้ำมันด้วยไฟฟ้าสถิต
การจัดการเศษโลหะจากงานขึ้นรูปโลหะ (chip management)
ผลของคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงต่อเครื่องยนต์
น้ำมันเทอร์ไบน์ และการบำรุงรักษา
ประเภทของงานบำรุงรักษา
กรองแบบบายพาสสำหรับเครื่องยนต์
Beta Ratio
Mesh to Micron
Micro deburring and finishing