ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot




ประเภทของงานบำรุงรักษา

การบำรุงรักษา (maintenance)

การบำรุงรักษาหมายถึง การพยายามรักษาสภาพของเครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ ให้มีสภาพที่พร้อมจะใช้งานอยู่ตลอดเวลา 

จุดมุ่งหมายของการบำรุงรักษา
 
  1.  เพื่อให้เครื่องมือใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล  (Effectiveness)  คือ  สามารใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้เต็มความสามารถและตรงกับวัตถุประสงค์ที่จัดหามามากที่สุด
  2.  เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีสมรรถนะการทำงานสูง  (Performance) และช่วยให้เครื่องมือเครื่องใช้มีอายุการใช้งานยาวนาน  เพราะเมื่อเครื่องมือได้ใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะเกิดการสึกหรอ  ถ้าหากไม่มีการปรับแต่งหรือซ่อมแซมแล้ว  เครื่องมืออาจเกิดการขัดข้อง  ชำรุดเสียหายหรือ  ทำงานผิดพลาด
  3. เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ (Reliability) คือ  การทำให้เครื่องมือเครื่องใช้มีมาตรฐาน   ไม่มีความคลาดเคลื่อนใด ๆ เกิดขึ้น
  4.   เพื่อความปลอดภัย (Safety) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญ  เครื่องมือเครื่องใช้จะต้องมีความปลอดภัยเพียงพอต่อผู้ใช้งาน  ถ้าเครื่องมือเครื่องใช้ทำงานผิดพลาด  ชำรุดเสียหาย  ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ  อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ  และการบาดเจ็บต่อผู้ใช้งานได้  การบำรุงรักษาที่ดีจะช่วยควบคุมการผิดพลาด
  5.  เพื่อลดมลภาวะของสิ่งแวดล้อม เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดเสียหาย  เก่าแก่  ขาดการบำรุงรักษา  จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  มีฝุ่นละอองหรือไอของสารเคมีออกมา  มีเสียงดัง  เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  6. เพื่อประหยัดพลังงาน  เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนมากจะทำงานได้ต้องอาศัยพลังงาน  เช่น  ไฟฟ้า  น้ำมันเชื้อเพลิง  ถ้าหากเครื่องมือเครื่องใช้ได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี  เดินราบเรียบไม่มีการรั่วไหลของน้ำมัน  การเผาไหม้สมบูรณ์  ก็จะสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้
 
ประเภทของการบำรุงรักษา 
 
งานบำรุงรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท 
  • Breakdown Maintenance (การบำรุงรักษาโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย)  
  • Planned/Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน)  
  • Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน) 
  • Proactive maintenance (เป็นแนวคิดใหม่ในวงการบำรุงรักษา  โดยการแก้ที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา) 

1. Breakdown maintenance (การซ่อมบำรุงโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย) 
   
การบำรุงรักษาวิธีนี้ถือได้ว่าเป็นแนวคิดในงานการบำรุงรักษา ที่เก่าแก่ที่สุด ในตำราบางเล่มให้นิยามวิธีการบำรุงรักษาแบบนี้ว่า “ ดำเนินการโดยไร้การบำรุงรักษา”  เพราะในความเป็นจริงฝ่ายซ่อมบำรุงจะไม่ต้องปฏิบัติงานใด ๆ เลยจนกว่าจะมีรายงานว่าเครื่องจักรชำรุด ใช้งานต่อไปไม่ได้   อย่างไรก็ตามการบำรุงรักษาประเภทนี้ก็ยังคงมีใช้ในบางสถานการณ์ เช่น ในอาคารที่ไม่สลับซับซ้อน หรือมีอุปกรณ์อะไหล่ทดแทนพร้อมอยู่เสมอ  หรือสามารถสั่งซื้อได้อย่างทันทีทันใด โดยที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบำรุงรักษาประเภทนี้ ควรน้อยกว่าการประยุกต์ใช้วิธีการบำรุงรักษาแบบอื่น  เช่น การบำรุงรักษาหลอดไฟฟ้าที่ปล่อยทิ้งไว้จนหลอดขาด   หรือก็อกน้ำประปาชำรุด  ข้อเสียของการบำรุงรักษาประเภทนี้ได้แก่ 
  • ไม่มีสํญญาณใด ๆ บอกเป็นการเตือนล่วงหน้าเมื่อเครื่องจักรเริ่มชำรุด
  • ไม่สามารถยอมรับได้ ในระบบที่ต้องการความเชื่อมั่นสูง เช่น ระบบลิฟท์ 
  • ต้องเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ไว้เป็นจำนวนมาก  ซึ่งหมายความว่ามีค่าใช้จ่ายในการเก็บอะไหล่คงคลังสูง 
  • ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติตามแผนการผลิตได้ตามประสงค์ 
  • ไม่สามารถวางแผนงานในการบำรุงรักษาได้ 
2. Planned/ Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน) 
 
เพื่อเป็นการลบล้างข้อบกพร่องในการบำรุงรักษาเมื่อชำรุด จึงได้มีการพัฒนางานทางด้านการบำรุงรักษาตามแผนขึ้นมา  กล่าวโดยย่อก็คือ การบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นโดยอาจจะได้มาจากประสบการณ์หรือจากคู่มือการใช้งานของระบบและอุปกรณ์นั้น ๆ อย่างไรก็ตามการชำรุดของอาคารและอุปกรณ์โดยไม่คาดฝันก็ไม่สามาถขจัดออกไปได้   เพราะว่าในทางสถิติแล้ว การชำรุดของอาคารและอุปกรณ์ไม่ได้เป็นการกระจายตัวแบบสม่ำเสมอ หรือมีรูปแบบที่แน่นอน  ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะ เลือกช่วงการบำรุงรักษาตามแผนที่เหมาะสม และในบางกรณีถึงแม้ว่าได้ปฏิบัติการบำรรุงรักษาตามแผนแล้วก็ตาม  ก็ยังคงมีโอกาสที่จะเกิดการชำรุดของเครื่องจักร และอุปกรณ์โดยไม่คาดคิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  สรุปได้ว่าการบำรุงรักษาแบบนี้จะทำให้เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม  ตัวอย่างการบำรุงรักษาแบบนี้ได้แก่  การตรวจเช็คระดับน้ำมันลิฟท์โดยสารที่บริเวณช่องตรวจระดับน้ำมัน การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะเวลาการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สำคัญบางชิ้นตามระยะเวลา  ปัญหาหนึ่งที่พบเสมอในการทำการบำรุงรักษาตามระยะเวลาคือ ทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนบางชิ้นโดยไม่จำเป็น และในบางกรณีอาจจะเป็นการรบกวนชิ้นส่วน ในระบบอื่นโดยไม่จำเป็นรวมถึงอาจจะมีการประกอบกลับชิ้นส่วนไม่ถูกต้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลเสียมากว่าผลดีเสียอีก  ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาจึงมีวิธีการบำรุงรักษาแบบใหม่ที่เรียกว่า Reliability centered maintenance (RCM)  โดยมีการดำเนินการย่อ ๆ ดังนี้ 
 
  • ตรวจวิเคราะห์หาอุปกรณ์วิกฤต
  • ตรวจสอบอุปกรณ์วิกฤตตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ถอดอุปกรณ์ออกเพื่อปรับสภาพ 
  • ถอดเปลี่ยนอุปกรณ์วิกฤต
  • ในกรณีของอุปกรณ์ที่ไม่วิกฤต ก็ให้ใช้ต่อไปจนชำรุด
  • ในบางกรณีที่จำเป็นให้ทำการออกแบบอุปกรณ์บางชิ้นใหม่ 
 
3. Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน) 
 
เครื่องจักรสมัยใหม่มีกลไกที่ละเอียด และซับซ้อนกว่าเครื่องจักรในสมัยก่อน ๆ รวมทั้งเป็นการยากที่จะทำการถอดเปลี่ยน หรือทำการตรวจเช็คตามจุดที่สำคัญของงานบำรุงรักษาตามแผน (PM) วิธีการในการบำรุงรักษาโดยการคาดคะเนนับได้ว่าเป็นปรัชญาใหม่ในศาสตร์ของการบำรุงรักษาเครื่องจักร  แนวความคิดโดยสรุปก็คือการใช้วิธีการ หรือเทคนิคใหม่ ๆ ของเครื่องมือวัดชนิดต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ในการวัดแรงสั่นสะเทือน  กล้องอินฟาเรด เทอร์โมกราฟฟี่  เป็นต้น โดยพื้นฐานแล้วพอที่จะจัดแบ่งการบำรุงรักษาแบบนี้ออกเป็นวิธีย่อย ๆ คือ  Vibration analysis, Oil/wear particle analysis, Performance monitoring, Temperature monitoring
 
       การศึกษาติดตามสภาพเครื่องจักร (Condition monitoring) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการติดตามสุขภาพเครื่องจักร (Machine health monitoring) ก็จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษแบบคาดคะเน  ความจริงแล้วการทำ CM (Condition monitoring) หรือ  MHM (Machine health monitoring) ไม่ใช่ของใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้ว วิศวร หรือผู้ควบคุมเครื่อง ก็ใช้สามัญสำนึกในการบำรุงรักษาเครื่องจักรอยู่แล้ว  เช่น การใช้สายตาตรวจดูลักษณะทั่วไป  การใช้จมูกดมกลิ่นไหม้  การใช้หูฟังเสียงที่ผิดปกติ  และการใช้นิ้วสัมผัส (ความร้อน) เป็นต้น  อย่างไรก็ตามวิธีการตรวจสอบดังกล่าวจะเป็นลักษณะการประเมินสภาพเครื่องจักรที่ไม่มีข้อยุติที่แน่นอน ทั้งนี้เนื่องจากความไม่เที่ยงตรงของประสาทสัมผัสของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ดังนั้นการใช้เครื่องมือวัดเชิงปริมาณสำหรับการบำรุงรักษาแบบคาดคะเนจึงเป็นสิ่งสำคัญ  ทั้งนี้เพราะทำให้ได้ข้อสรุที่ไม่มีการบิดเพริ้วได้ในการปะรเมินสภาพของเครื่องจักร  ดังนั้นความหมายของ Predictive maintenance ก็พอที่จะสรุปได้ว่า เมื่อสามารถทราบถึงลักษณะของต้นทุนของการชำรุด  จึงพอที่จะสามารถจัดเตรียมการล่วงหน้าสำหรับแรงงาน ชิ้นส่วนอะไหล่ และกำหนดช่วงเวลาการทำงานที่ไม่ขัดกับแผนการผลิตหลักได้  ในกรณีที่มีการประยุกต์ใช้ Predictive maintenance ที่เหมาะสมแล้วผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือ 
 
  • ลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษา
  • ลดสถิติการชำรุดของเครื่องจักรและอุปกรณ์
  • ลดเวลาการชำรุดของเครื่องจักรและอุปกรณ์
  • ลดปริมาณอะไหล่คงคลังในการบำรุงรักษา
  • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 
  • วางแผนการบำรุงรักษาได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
  • ทำให้การหยุดชะงักในการผลิตน้อยลง 

 

4. Proactive maintenance (การบำรุงรักษาแบบป้องกันล่วงหน้า) 

 
 นับเป็นวิธีบำรุงรักษาอาคารและเครื่องจักรที่ค่อนข้างใหม่ต่อวงการ  ทั้งนี้เพราะแนวคิดดังกล่างเพิ่งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1985 โดยย่อแล้วงานบำรุงรักษาแบบนี้จะมุ่งพิจารณารากของปัญหา (Root cause of failure)
 
โดยที่ root cause สามารถแบ่งย่อยออกเป็นหกอย่างคือ
 
  • Chemical stability,
  • Physical stability,
  • Temperature stability,
  • Wear stability,
  • Leakage stability 
  • Mechanical stability
 
 เมื่อใดที่มีการไม่สมดุลย์ในระบบของเครื่อง (อาจจะเกิดความไม่มี Stability ในหนึ่งใน Root cause ที่กล่าวมา หรืออาจจะมีความไม่สมดุลย์ในระบบมากกว่าหนึ่งสาเหตุก็เป็นได้) ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ ในระบบไฮดรอลิคก็คือ  การที่มีสิ่งสกปรก (Contaminants) หลุดลอดเข้าไปในระบบ ซึ่งอาจจะเกิดจากการเติมน้ำมันที่สกปรกเข้าไปในระบบ  การเสื่อมสภาพของไส้กรองอากาศ   การชำรุดเสียหายของซีล  และสิ่งสกปรกตังกล่าวก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบขาดความสมดุลย์ไป   เมื่อวิศวรหรือผู้ชำนาญได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root cause) ก็จะทำการแก้ไขให้ระบบกลับคืนสู่สมดุลย์   เช่น ใช้ไส้กรองที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เปลี่ยนซีลที่ขาด หรือทำการกรองน้ำมันที่สงสัยว่ามีสิ่งสกปรกผสมอยู่ เป็นต้น  อย่างไรก็ตามเนื่องจากจำเป็นต้องใช้ทั้งเครื่องมือ บุคคลากรที่มีความชำนาญสูงในการค้นหา Root cause แนวความคิดในการซ่อมบำรุงแบบนี้ยังไม่แพร่หลายมากนัก 
 

  Share




สาระน่ารู้

ระบบไฮดรอลิค
ส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันต้องสะอาดแค่ไหน ? article
ผลต่อเครื่องจักร article
การกรองแบบ In-line และ By-pass article
ทำไมต้องกรองละเอียด
น้ำมันสะอาดช่วยประหยัดเงิน
NAS 1638 และ ISO 4406
ตารางเปรียบเทียบ ISO และ NAS
การบำรุงรักษาน้ำมันไฮดรอลิค
6 ข้อผิดพลาดในการใช้งานระบบไฮดรอลิค
การควบคุมการปนเปื้อนใน Gearbox
การกรองน้ำมันเกียร์
เกียร์บ็อกร้อนเกินไป
การคำนวณเวลาในการกรอง
Filtroil กับอายุของน้ำมัน
การจัดการน้ำมันหล่อลื่น
การแยกน้ำออกจากน้ำมัน
Water Glycol
งานดึงลวด
การอบชุบโลหะด้วยความร้อน
น้ำมันชุบแข็ง
Coolant Oil Skimmer
น้ำมันถ่ายเทความร้อน
การบำรุงรักษาน้ำมันหล่อเย็น
การแยกตะกอนออกจากน้ำมันหล่อเย็น
เรื่องน่ารู้น้ำมันหล่อเย็น
งานฉีดพลาสติก
อันตรายจากหมอกละอองน้ำมัน (Oil mist)
ระบบหล่อลื่นเทอร์ไบน์
โคลนหรือตะกอนในน้ำมันคูลแลนท์
หลักการทำงานของเครื่องแยกละอองน้ำมันด้วยไฟฟ้าสถิต
การจัดการเศษโลหะจากงานขึ้นรูปโลหะ (chip management)
ผลของคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงต่อเครื่องยนต์
Dust and Mist Collector
น้ำมันเทอร์ไบน์ และการบำรุงรักษา
กรองแบบบายพาสสำหรับเครื่องยนต์
Beta Ratio
Mesh to Micron
Micro deburring and finishing