ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot




เกียร์บ็อกร้อนเกินไป

เกียร์บ็อกร้อนเกินไป

เกียร์บ็อก

การหมั่นดูแลและควบคุมอุณหภูมิในการทำงานของเกียร์บ็อกมีผลดีหลายอย่างทั้งในแง่อายุการใช้งานของเกียร์บ็อก แผนการผลิต  เริ่มตั้งแต่การเลือกเกียร์บ็อกให้เหมาะกับงาน  หรือเลือกชนิดของเกียร์ให้ถูกต้อง  การที่เกียร์บ็อกไม่ร้อนเกินไปจะทำให้อายุการใช้งานของซีล ตลับลูกปืน ยาวนานขึ้น   หากลดอุณหภูมิของเกียร์บ็อกลงได้ 14 องศาเซลเซียส จะทำให้ อายุการใช้งานของซีลที่ทำจากยางไนไตร (Nitrile) นานขึ้นสองเท่า  และหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 14 องศาเซลเซียส จะทำให้อายุของซีลชนิดเดียวกันลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง  ตัวอย่างเช่น  ซีลในเกียร์บ็อกสามารถใช้งานได้ 12,000 ชั่วโมง ที่ 52 องศาเซลเซียส แต่ซีลของเกียร์บ็อกแบบเดียวกันที่ทำงานเหมือนกันแต่อุณหภูมิสูงกว่าคือ 65 องศาเซลเซียส จะเสียหายเมื่อใช้งานไป 6000 ชั่วโมง

ผลกระทบนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นเฉพาะซีลแบบไนไตรเท่านั้น  ซีลไวตัน (Viton)  น้ำมันหล่อลื่น และฟันเฟืองก็ได้รับผลกระทบจากการทำงานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน  หากปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไป เกียร์บ็อกจะมีปัญหาหลายอย่าง  เช่น น้ำมันหล่อลื่นเสียหาย  รางวิ่งของตลับลูกปืนเป็นรอยไม่เรียบ   ซีลเสียหาย ฟันเฟืองมีรอยสึก จะทำให้เกียร์บ็อกมีอายุการใช้งานสั้นกว่าที่ควรจะเป็น

แค่ไหนถึงร้อนเกินไป ?

คำถามที่ตามมาคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกียร์บ็อกร้อนเกินไปแล้ว  โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีง่าย ๆ คือหากสามารถเอามือวางที่ตัวเสื้อของเกียร์บ็อก (housing) สัก 4-5 วินาทีโดยที่ไม่รู้สึกร้อน ก็ถือว่าใช้ได้ แต่ก็อาจจะไม่แม่นยำนัก เพราะว่าคนแต่ละคนสามารถทนความร้อนได้ไม่เท่ากัน คนทั่วไปมักจะสัมผัสวัตถุวัตถุที่มีความร้อนได้ในช่วง 54-60 องศาเซลเซียส
ในปัจจุบันการบำรุงรักษามักจะใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิมากกว่าที่จะใช้ความรู้สึก เครื่องมือก็มีหลากหลาย ทั้งเทอร์โมมิเตอร์แบบสัมผัส เทอร์โมคับเปิ้ล หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบอินฟาเรดซึ่งทำให้วัดอุณหภูมิได้โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสเกียร์บ็อก   หรือบางที่ก็ใช้ภาพถ่ายความร้อน (Thermal imaging) เป็นตัวตรวจวัดว่าเกียร์บ็อกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติหรือไม่ นอกจากนี้ภาพถ่ายความร้อนยังใช้หารอยรั่วของเกียร์บ็อกได้ด้วย

โดยทั่วไปความร้อนที่เกิดขึ้นในเกียร์บ็อกมาจากความฝืด หรือการสัมผัสกันโดยตรงของโลหะ เมื่อภาระมากขึ้น อุณหภูมิจะสูงขึ้น เมื่อภาระน้อยลงอุณหภูมิก็จะต่ำลง  นอกจากนี้ความฝืดที่เกิดจากตลับลูกปืนเสียหาย การเยื้องศูนย์ หรือผงโลหะที่เกิดจากการสึกหรอภายในเกียร์บ็อกก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนได้

แม้ว่าปัจจัยอื่นๆ มีผลต่ออุณหภูมิของเกียร์บ็อกแต่ว่าน้ำมันหล่อลื่นมีความสำคัญมากกว่า  น้ำมันหล่อลื่นทำหน้าที่ลดความฝืดและเป็นตัวถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นส่งผ่านเสื้อเกียร์สู่บรรยากาศ

ความหนืดของน้ำมันจะลดลงมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีความชื้นเข้าไปปะปนกับน้ำมัน  ซึ่งจะทำให้ฟิล์มน้ำมันบางเกินไป  ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นจะมีผลต่อเกียร์บ็อกมาก  สำหรับการเลือกใช้น้ำมันเกียร์ หากผู้ผลิตกำหนดให้เกรดเดียวก็ไม่มีปัญหา  หากระบุสองเกรดให้เลือกใช้น้ำมันที่มีความหนืดสูงกว่าไว้ก่อน

ส่วนใหญ่เสื้อเกียร์มักกำหนดอุณหภูมิสูงสุดไว้ที่ 82-93 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นตัวกำหนดอุณหภูมิสูงสุดของชิ้นส่วนอื่น ๆ เช่น ซีลแบบไนไตรใช้งานที่ไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส ซีลยางแบบ Fluorinated ใช้งานที่ไม่เกิน 150 องศาเซลเซียส น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้น้ำมันแร่เป็นน้ำมันพื้นฐาน อุณหภูมิต้องไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส หรือน้ำมันหล่อลื่นแบบสังเคราะห์ ไม่ควรเกิน 150 องศาเซลเซียส ส่วนตลับลูกปืนและเฟืองที่ทำจากเหล็กมักกำหนดอุณหภูมิสูงสุดไว้ที่ 120 -150 องศาเซลเซียส

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าสาเหตุหลักของการเกิดความร้อนคือการสัมผัสกันโดยตรงของโลหะ และการเยื้องศูนย์ของตลับลูกปืน หากได้แก้ปัญหาเรื่องผงโลหะหรือความชื้นที่ปะปนในน้ำมันเกียร์ การทดลองใช้น้ำมันเกียร์ที่มีความหนืดสูงขึ้น และการเยื้องศูนย์ของตลับลูกปืนแล้ว ไม่ทำให้อุณหภูมิของเกียร์บ็อกลดลง แสดงว่าเกิดจากสาเหตุอื่น ให้ลองวัดอุณหภูมิของมอเตอร์ อาจเป็นไปได้ว่ามอเตอร์มีขนาดเล็กเกินไป หากมอเตอร์มีอุณหภูมิสูงกว่า แสดงว่ามอเตอร์ระบายความร้อนมาสู่เกียร์บ็อก จึงควรเปลี่ยนมอเตอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือต้องติดตัวระบายความร้อนเข้าช่วย

Share




สาระน่ารู้

ระบบไฮดรอลิค
ส่วนประกอบของน้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันต้องสะอาดแค่ไหน ? article
ผลต่อเครื่องจักร article
การกรองแบบ In-line และ By-pass article
ทำไมต้องกรองละเอียด
น้ำมันสะอาดช่วยประหยัดเงิน
NAS 1638 และ ISO 4406
ตารางเปรียบเทียบ ISO และ NAS
การบำรุงรักษาน้ำมันไฮดรอลิค
6 ข้อผิดพลาดในการใช้งานระบบไฮดรอลิค
การควบคุมการปนเปื้อนใน Gearbox
การกรองน้ำมันเกียร์
การคำนวณเวลาในการกรอง
Filtroil กับอายุของน้ำมัน
การจัดการน้ำมันหล่อลื่น
การแยกน้ำออกจากน้ำมัน
Water Glycol
งานดึงลวด
การอบชุบโลหะด้วยความร้อน
น้ำมันชุบแข็ง
Coolant Oil Skimmer
น้ำมันถ่ายเทความร้อน
การบำรุงรักษาน้ำมันหล่อเย็น
การแยกตะกอนออกจากน้ำมันหล่อเย็น
เรื่องน่ารู้น้ำมันหล่อเย็น
งานฉีดพลาสติก
อันตรายจากหมอกละอองน้ำมัน (Oil mist)
ระบบหล่อลื่นเทอร์ไบน์
โคลนหรือตะกอนในน้ำมันคูลแลนท์
หลักการทำงานของเครื่องแยกละอองน้ำมันด้วยไฟฟ้าสถิต
การจัดการเศษโลหะจากงานขึ้นรูปโลหะ (chip management)
ผลของคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงต่อเครื่องยนต์
Dust and Mist Collector
น้ำมันเทอร์ไบน์ และการบำรุงรักษา
ประเภทของงานบำรุงรักษา
กรองแบบบายพาสสำหรับเครื่องยนต์
Beta Ratio
Mesh to Micron
Micro deburring and finishing