บริษัท ออยเซิร์ฟ จำกัด
9 ซอยทวีวัฒนา 25 แยก 7, แขวงทวีวัฒนา, เขตทวีวัฒนา, กรุงเทพ 10170
Tel. (66) 2 441 9247, (66) 2 888 9346, Fax. (66) 2 441 9248
Line ID:oilserveDust and Mist Collector Mist collector (เครื่องเก็บหมอกละอองน้ำมัน) ได้มีการใช้งานในวงการตัดขึ้นรูปโลหะมานานกว่า 50 ปีแล้ว เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีอากาศที่สะอาด ลดอันตรายจากการหายใจหรือสัมผัสกับน้ำมันขึ้นรูปโลหะ ทำให้อากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดงานซ่อมบำรุง บทความนี้จะอธิบายปัญหาจากละอองน้ำมัน และชนิดของตัวกรองละอองน้ำมันที่โรงงานสามารถใช้ได้
หมอกละอองน้ำมัน และควันคืออะไร ?
อาจมีการให้นิยามของหมอก และควันต่างกันในหลาย ๆ ที่ แต่ในที่นี้หมอกละอองน้ำมัน (oil mist) หมายถึงอนุภาคของน้ำมันที่มีขนาด 20 ไมครอน หรือเล็กกว่า โดยเน้นไปที่น้ำมันขึ้นรูปที่เป็น น้ำมัน น้ำมันผสมน้ำ และสารทำความสะอาด ซึ่งใช้ในงาน ตัด ขึ้นรูป เจียระไน และล้างชิ้นงาน เช่น งานกัด และการขึ้นรูปที่มีการหมุนชิ้นงาน หากใช้น้ำมันคูลแลนท์ที่ใช้น้ำมันผสมน้ำ จะสร้างละอองขนาด 2-20 ไมครอน แต่ในงานเดียวกันนี้ถ้าใช้น้ำมันเป็นตัวหล่อลื่นและระบายความร้อนก็จะสร้างละอองน้ำมันขนาด 0.5 -10 ไมครอน
ควันเกิดจากการให้ความร้อน หรืออัดของเหลวภายใต้แรงดันสูง ทำให้เกิดไอและไอควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้ง งานที่ทำให้เกิดควันได้แก่ Cold heading, การตัดขึ้นรูปโลหะที่ใช้น้ำมันเป็นสารหล่อลื่น, ในกังหันผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่, และงานอบชุบผิวโลหะ เป็นต้น
ปัญหาของหมอกละอองน้ำมัน
วิธีการติดตั้งเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมัน
เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมาก และได้ผลดี เครื่องกรองหมอกจะมีช่องเปิดด้านล่าง และต่อเข้ากับช่องเปิดของเครื่องจักรโดยตรง หรืออาจมีท่อยืดสั้น ๆ สวมอยู่
รูปที่ 1 ติดตั้งบนเครื่องจักร ข้อดี
ข้อเสีย
รูปที่ 2 ต่อท่อไปที่เครื่่องกรองหมอกละอองน้ำมัน ส่วนใหญ่จะติดตั้งเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันที่พื้น แขวนกับเพดาน หรือยึดติดกับคาน จะใช้เมื่อ
ข้อดี
ข้อเสีย
3. ระบบท่อร่วม เป็นการใช้เครื่องกรองหมอกตัวเดียวร่วมกับ Machining center 2-4 ตัว (รูปที่ 3) ชิ้นส่วนที่ผลิต อาจเป็นชิ้นส่วนเดียวที่ส่งต่อจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง หรือจะผลิตชิ้นส่วนที่เหมือนกันพร้อมกันทุกเครื่องก็ได้ โดยทั่วไปเครื่องจักรเหล่านี้จะใช้น้ำมันหล่อเย็นชนิดเดียวกัน ในกรณีนี้การติดตั้งเครื่องกรองหมอกหนึ่งตัวต่อเครื่องจักร 2-4 ตัว จะเหมาะกว่าการติดตั้งแบบตัวต่อตัว
รูปที่ 3. แบบท่อร่วมต่อกรองหมอกกับ Machining center 2-4 ตัว ข้อดี
ข้อเสีย
4. ระบบรวมส่วนกลาง ระบบนี้จะใช้เครื่องกรองหมอกหนึ่งตัวต่อ เครื่อง Machining center มากถึง 20 ตัว ระบบนี้เคยได้รับความนิยมในอดีตแต่ในปัจจุบันไม่ค่อยมีคนใช้มากนัก เนื่องจากมีข้อเสียหลายอย่าง ข้อดี
ข้อเสีย
5. การกรองหมอกละอองน้ำมันในโรงงาน เป็นการกรองละอองน้ำมันในโรงงานโดยที่เครื่องกรองไม่ได้ต่อไปที่เครื่องจักรที่สร้างหมอกละอองน้ำมันโดยตรง การกรองละอองน้ำมันแบบนี้ไม่ค่อยพบมากนัก แต่จะพบได้ในกรณีที่ไม่สามารถดูดหมอกละอองน้ำมันจากเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือในบางครั้งก็ใช้เป็นระบบเสริมร่วมกับแบบที่ต่อเข้ากับเครื่องจักรโดยตรง เพื่อให้สภาพอากาศในโรงงานดีขึ้นเป็นพิเศษ ข้อดี
ข้อเสีย
การเลือกขนาดของเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมัน กรณีที่ 1 ต่อเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันเข้ากับเครื่องจักร เครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันต้องมีขนาดไม่เล็กจนเกินไป เมื่อเครื่องจักรมีประตูกันหมอกละอองน้ำมัน เราจะคำนวณอัตราการไหลโดยเอาพื้นที่ของช่องเปิด คูณด้วยความเร็วลมที่ต้องการ (5-9 เมตรต่อนาที) พื้นที่ช่องเปิด = B * (l1+l2) ตัวอย่างเช่น ถ้าพื้นที่ช่องเปิด เท่ากับ 1 ตารางเมตร อัตราการไหลของเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันควรจะเป็น 9 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
กรณีที่ 2 การกรองหมอกละอองน้ำมันจากอากาศในโรงงาน 2.1 ให้คำนวณปริมาตรอากาศในโรงงาน โดยใช้สูตร ปริมาตร = กว้าง*ยาว*สูง 2.2 ให้สังเกตว่ามีหมอกละอองน้ำมันมากหรือเปล่า ถ้ามีน้อยให้ใช้เวลา 20 นาทีต่อการกรองหนึ่งรอบ หากปานกลาง ให้ใช้เวลา 15 นาทีต่อการกรองหนึ่งรอบ แต่ถ้ามีหมอกละอองน้ำมันมาก ให้ใช้เวลา 10 นาที ในการคำนวณ 2.3 หาอัตราการไหลของอากาศ เป็นลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) = ปริมาตรของห้อง (m3)/ จำนวนนาทีต่อการกรองหนึ่งรอบ เช่น ห้องเครื่อง Machining center มีขนาด 40*20*6 เมตร และมีหมอกปานกลาง ดังนั้นเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันควรมีขนาด = (40*20*6)/15 = 320 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที 2.4 หาจำนวนเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมัน โดยเอาอัตราการไหลทั้งหมด หารด้วยอัตราการไหลของเครื่องกรองหมอกละอองน้ำมันแต่ละตัว สมมุติว่าเครื่องกรองมีอัตราการไหล 32 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ก็จะได้จำนวนเครื่องกรอง = 320/32 หรือ 10 ตัว 2.5 จัดวางตำแหน่งของเครื่องกรองแต่ละเครื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ให้เกิดการไหลของอากาศเป็นรูปไข่ โดยจัดวางให้ท่อออกของเครื่องหนึ่งชี้ไปทางท่อดูดของเครื่องถัดไป
|